Analog Naverdie ทำไม Analog ไม่เลือนลางจางหายไปตามกาลเวลา

8 ก.ค. 2563 14:04:29 AdminSystem Admin 4042

feature-image

 

ในช่วงเปลี่ยนผ่าน 20-30 ปีที่ผ่านมาโลกก้าวเข้าสู่ยุค Digital อย่างเต็มตัว อุปกรณ์ทุกสิ่งอย่างล้วนเป็น Digital และผนวก Ai เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเราทุกคนซึ่งแน่นอนว่า Digital นั้นอำนวยความสะดวกสบายและกระชับเวลาในชีวิตของผู้คนได้ดีขึ้นมากทีเดียว เช่น

      วงการถ่ายภาพ ปัจจุบันก็มีกล้อง Digital ที่ให้ไฟล์ความละเอียดสูงและคมชัดเห็นภาพจริงๆก่อนจะได้กดชัอเตอร์แล้วด้วยซ้ำ...แต่...อีกฟากนึงก็กลับควานหากล้องฟิมส์ที่วุ่นวายกับการใช้งานเมื่อเทียบกับกล้อง Digital และหาร้านล้างอัดที่ค่อนข้างยากแต่ช่างภาพทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพกลุ่มนี้ก็ยังคงโหยหาวิถีแบบนี้นั่นเป็นเพราะสเน่ห์ของฟิมส์ที่มีความไม่สมบูรณ์เล็กๆน้อยๆผสมอยู่ในนั้นแม้แต่ iCon อย่างกล้องฟิมส์ Leica M6 จึงเป็นดาวค้างฟ้าที่ขายดิบขายดีมาเป็นสิบๆปีจนถึงปัจจุบันก็ยังคงออก Limited Edition มากี่ปีกี่รุ่นก็ขายหมดเกลี้ยงและราคาไม่เคยร่วง และภาพถ่ายจากกล้องฟิมส์นั้นมีเรื่องราวที่กว่าจะได้ภาพนั้นๆมันดูมีคุณค่ามากมายเต็มไปหมดที่ล้วนแต่เป็นความรู้สึกที่ดีมากๆอยู่ในภาพนั้นๆ

     

เครื่องเสียง ย้อนประวัติของเสียง 

ปี 1877 เครื่องบันทึเสียงเครื่องแรกเกิดขึ้นโดยฝีมือของ Thomas Adison ซึ่งข้อความแรกที่ถูกบันทึกลงแผ่นบันทึกเสียงในยุคนั้นคือ  “Mary had a little lamb”

ปี 1886 กำเนิด Graphaphone อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ (Alexander Graham Bell) ชิเชสเตอร์ เบลล์ (Chichester Bell) และ ชาร์ลส์ เทนเทอร์ (Charles Tainter) ประดิษฐ์ Graphaphone ซึ่งดัดแปลงมาจาก Phonograph โดยเปลี่ยนแท่งกระบอกดีบุก เป็นกระบอกกระดาษเคลือบขี้ผึ้ง เพื่อการใช้งานง่ายยิ่งขึ้น

ปี 1887 กำเนิด Granophone อีมิล เบอร์ไลเนอร์ (Emile Berliner) เริ่มบันทึกเสียงบนแผ่นเสียงที่ทำจากครั่ง โดยบันทึกร่องเสียงลงไปในแนวนอนแทนแนวตั้งแบบแท่งทรงกระบอก และเริ่มคิดค้นการผลิตเป็นอุตสาหกรรม

ปี 1948 กำเนิด Vinyl แผ่นเสียงไวนิลเริ่มครองตลาด เพราะทนและยืดหยุ่นกว่าแผ่นครั่ง บันทึกเสียงได้มากกว่า แถมมีเสียงรบกวนน้อยกว่า น้ำหนักเบากว่า

ปี 1954 กำเนิด ระบบเสียง Stereo มีการทำเครื่องบันทึกเสียงสเตอริโอที่สามารถแยกเสียงซ้ายขวา เพิ่มมิติในการฟัง แผ่นเสียงสเตอริโอเข้ามาแทนที่การบันทึกเสียงแบบโมโนที่มีเสียงเป็นก้อน ๆ อันเดียว

ปี 1962 ยุครุ่งเรืองของ Walkman การบันทึกเสียงบนแถบแม่เหล็กหรือเทปคาสเซ็ตได้รับความนิยม เนื่องจากสามารถพกพาได้ ใช้กับรถยนต์และ “Sony Walkman” เครื่องเล่นเทปแบบพกพายอดฮิตขายดีที่สุดจนยอดผลิตไม่ทันขายในยุคนั้น

ปี 1954 กำเนิด CD โดย Sony และ Philips แนะนำ Compact Disc สู่ตลาด ซีดีกลายเป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลดิจิทัลได้หลายประเภท

ปี 1996 กำเนิด DVD หรือ Digital Video Disc หรือ Digital Versatile Disc จุข้อมูลได้มากกว่า CD หลายเท่าตัว

ปี 1996 ระบบเสียงก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลแบบเต็มตัว โดยเป็นปีที่มีการบันทึกบีบอัดไฟล์ดิจิทัลใน Codec MP3 Audio สามารถบีบอัดไฟล์เสียงให้มีขนาดเล็ก และส่งผ่านทางอินเทอร์เน็ต Copy ถ่ายโอนไปยังเครื่องดิจิทัลในรูปแบบต่างๆได้

ปี 2001 บุรุษนามว่า Steve Job เปิดตัวเครื่องเล่นเพลงแบบ Digital ที่มีความจุมากที่สุดในโลกในช่วงนั้นภายใต้แบรนด์ Apple นั่นก็คือเครื่องเล่น iPod ที่สามารถโค่นผู้ครองตลาดอย่าง Walkman ได้จนถึงปัจจุบัน

 

Digital Life กับดนตรีและเครื่องเสียง

      ณ วันนี้นั้นเครื่องเล่นเพลงดิจิทัลได้ถูกพัฒนามาไกลมากไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเครื่องเสียงบ้าน ( Home HiFi )หรือกลุ่มเครื่องเล่นพกพา ( Portable ) เราสามารถฟังเพลงในระบบ Streaming ผ่าน Internet ที่เพลงถูกจักเก็บอยู่บน Cloud นับพันล้านเพลงโดยที่ไม่ต้องเก็บเพลงมาไว้ในเครื่องเล่นของเราเลยทีเดียวที่สำคัญผู้ให้บริการ Streaming ยังผนวก Ai อันชาญฉลาดเข้ามาช่วยให้คนฟังเพลงได้ฟังเพลงที่ถูกจริตของคนฟังนั้นได้อย่างลงตัว เช่น Spotify ที่สามารถคาดเดาแนวเพลงและจัดหาเพลงมาเสิร์ฟให้กับคนฟังได้อย่างน่าทึ่งเป็นความสะดวกสบายที่เรียกได้ว่าประหยัดเวลาและเพลิดเพลินได้อย่างลงตัว

      อีกด้านนึงของการฟังเพลงยังคงมีกลุ่มผู้คนไม่น้อยที่ยังคง " โหยหาความเป็นAnalog " ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของเสียงวิธีการเล่น การเก็บสะสมและวิธีการฟัง แผ่น Vinyl แผ่น CD ม้วนเทป ของเหล่านี้ที่กำลังสูญหายไปจากการถูกกลืนด้วยยุค Digital Life กลับถูกเพรียกหาด้วยความรู้สึกของคนกลุ่มนี้อีกครั้ง และมีทีท่าว่าจะขยายเป็นวงกว้าง ที่สำคัญราคาขาย แผ่น Vinyl แผ่น CD ม้วนเทป ณ เวลานี้ราคาได้ทะยานขึ้นจากราคาปรกติถึง 4 เท่าตัว บางแผ่นที่เป็น iCon ราคาพุ่งทะยานไปเกือบ 10 เท่าจากราคาหน้าปกในช่วงที่ผลิตขายปรกติ แม้กระทั่งศิลปินวัยรุ่นยุคปัจจุบันก็ทำเพลงและ MV เนื้อร้องทำนองแนวย้อนกลับไปสมัยยุค 80's มาให้คนฟังในยุคปัจจุบันก็ได้รับการตอบรับที่ดีอย่างล้นหลาม นั่นเป็นเพราะว่าในความ Analog ที่ใช้เทคโลโลยีบันทึกเสียงในสมัยนั้นนั้นยังไม่ม่ีความก้าวหน้าเท่าปัจจุบันการบันทึกเสียงจึงทำทุกวิถีทางเพื่อเก็บรายละเอียดเสียงให้มากที่สุด เมื่อเก็บรายละเอียดมามากสิ่งที่ตามมาก็คือ Noise ที่มากับขั้นตอนการบันทึกและในความไม่สะอาดนั้นกลับพบข้อดีหลายๆอย่าง เช่น เสียงของบรรยากาศ  (Ambient) และ Micro detail จำนวนมากที่ไม่ได้ถูกลบทิ้งไปกับกระบวนการ Cleane Noise เหมือนยุค Digital ในปัจจุบันซึ่งเสียงเหล่านี้กลับมีเสน่ห์ชวนให้คนฟังได้หลงไหล และกับหลายๆคนนั้นก็อาจมีความทรงจำ มีประสบการณ์กับสิ่งของเหล่านี้ มันเลยกลายเป็นเสน่ห์ที่ยากจะละทิ้งและลืมเลือนไปได้ สังเกตุได้จากที่ " เวลาเราอยู่กับของเหล่านี้ไม่ว่าช่วงเวลาไหนเราจะมีความสุข มีรอยยิ้ม มีเรื่องราวในเรื่องเล่า สิ่งเหล่านี้นั้นล้วนสำคัญและมีคุณค่าต่อชีวิตของเราทุกๆคน "

     

แล้วเครื่องเล่น Digital ที่ให้ความ Analog ทั้งทางด้านดีไซน์และน้ำเสียงที่มีเสน่ห์ความเป็น Analog ในปัจจุบันนี้นั้นจะหาได้จากที่ไหน ? คำตอบนี้นั้นอยู่ในภาพประกอบของบทความนี้และที่ร้าน Kstudio ท่านผู้อ่านสามารถเดินเข้ามาสัมผัสเสน่ห์ความเป็น Analog ได้ทุกๆวันครับ

 

 

ที่มา

shorturl.at/mzHQ8

www.timetoast.com/timelines/51727


Tags


  • Share :



ที่เกี่ยวข้อง